จากหลักการทำงานขั้นพื้นฐานของระบบคอมพิวเตอร์ ทำให้มีการพัฒนาองค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์ขึ้นมา องค์ประกอบดังกล่าว คือ อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รองรับการทำงานแต่ละขั้นตอน ดังนั้นคอมพิวเตอร์จึงมีอุปกรณ์ที่สำคัญหลายอย่าง ซึ่งทำงานสัมพันธ์กันและมีกระบวนการทำงานเป็นขั้นตอนตามที่โปรแกรมกำหนดไว้ ไม่ว่าจะเป็นคอมพิวเตอร์ประเภทใด ยี่ห้อใด รุ่นใด ต่างก็มีหลักการทำงานในลักษณะเดียวกัน คอมพิวเตอร์จะทำงานได้อย่างเป็นระบบนั้น จะต้องอาศัยองค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์ที่สำคัญ ดังนี้
๑)หน่วยรับข้อมูล (input unit) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการรับข้อมูลจากอุปกรณ์ต่างๆ ส่งเข้าเครื่องคอมพิวเตอร์
๒)หน่วยประมวลผลกลาง (central processing unit : CPU) ซีพียูเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญของเครื่องคอมพิวเตอร์
๓)หน่วยความจำหลัก (main memory) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้จัดเก็บข้อมูลและโปรแกรมคำสั่งต่างๆในขณะที่เครื่องคอมพิวเตอร์เปิดใช้งานอยู่เท่านั้น
๔)หน่วยความจำรอง (secondary storage) เป็นอุปกรณ์สำหรับจัดเก็บข้อมูลและโปรแกรมที่ใช้ในระบบคอมพิวเตอร์อย่างถาวร
๕)หน่วยส่งออก (output unit) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้แสดงผลข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลที่ผู้ใช้สามารถเข้าใจได้ง่าย
๒.๑ หน่วยรับเข้า
หน่วยรับเข้า (input unit) เป็นอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่รับข้อมูลจากผู้ใช้ เข้าสู่หน่วยความจำหลักของคอมพิวเตอร์ และแปลงข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบของสัญญาณไฟฟ้าที่คอมพิวเตอร์สามารถประมวลผลได้
ข้อมูลเข้า (input) ประกอบด้วยข้อมูล (data) และคำสั่ง (program) โดยข้อมูลอาจอยู่ในรูปแบบของตัวอักษร ตัวเลข สัญลักษณ์ รูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว และเสียง ซึ่งข้อมูลจะถูกนำเข้าเมื่อผู้ใช้เปิดโปรแกรม เช่น เมื่อผู้ใช้เปิดโปรแกรม Microsoft Office Word ผู้ใช้ต้องป้อนข้อมูลในรูปแบบของตัวอักษรและสัญลักษณ์ รวมทั้งรับคำสั่งเพื่อการจัดเก็บ (save) ข้อมูล เป็นต้น หน่วยรับเข้าจึงมีอุปกรณ์มากมายที่มีความสามารถในการรับข้อมูลเข้าที่มีรูปแบบแตกต่างกัน
อุปกรณ์หน่วยรับเข้าที่นิยมใช้ในปัจจุบัน แบ่งออกได้เป็น ๗ กลุ่มดังนี้
๑)อุปกรณ์แบบกด (keyed device) เป็นอุปกรณ์ที่ประกอบไปด้วยปุ่มสำหรับกด เพื่อป้อนข้อมูลในรูปแบบตัวอักษร ตัวเลข และสัญลักษณ์พิเศษเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์แบบกดที่ได้รับความนิยมมากที่สุด ได้แก่ แป้นพิมพ์ ซึ่งแป้นพิมพ์ประกอบด้วยปุ่มสำหรับการพิมพ์อักขระ พิมพ์ตัวเลข การเรียกใช้ฟังก์ชันของซอฟต์แวร์ และการควบคุมการทำงานร่วมกับปุ่มอื่นๆ
๑.๑) แป้นพิมพ์ไร้สาย (cordless keyboard) แป้นพิมพ์ที่ออกแบบเพื่อส่งผ่านข้อมูลโดยเทคโนโลยีไร้สาย และทำงานโดยพลังงานแบตเตอรี่ ทำให้เกิดความสะดวกในการเคลื่อนย้าย
๑.๒) แป้นพิมพ์ที่ออกแบบตามหลักการยศาสตร์ (ergonomics keyboard)
เป็นแป้นพิมพ์ที่มีการออกแบบโดยคำนึงถึงความเสี่ยงกับการได้รับบาดเจ็บของผู้ใช้จากการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน
๑.๓) แป้นพิมพ์พกพา (portable keyboard) เป็นแป้นพิมพ์ที่ออกแบบสำหรับเครื่องพีดีเอ มีทั้งแบบพับและแบบที่ทำจากยางซึ่งสามารถม้วนเก็บได้ ทำให้ใช้งานได้สะดวก
๑.๔) แป้นพิมพ์เสมือน (virtual keyboard) เป็นแป้นพิมพ์ที่ออกแบบสำหรับใช้ร่วมกับเครื่องพีดีเอ ซึ่งใช้เลเซอร์ในการจำลองภาพให้เสมือนแป้นพิมพ์จริง
๒)อุปกรณ์ชี้ตำแหน่ง (pointing device) หรือเมาส์ (mouse)อุปกรณ์ชี้ตำแหน่งเป็นอุปกรณ์สำหรับเลื่อนตัวชี้ตำแหน่งบนจอภาพไปยังตำแหน่งที่ต้องการ ทำให้มีการโต้ตอบระหว่างผู้ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์รวดเร็วกว่าแป้นพิมพ์
๒.๑)เมาส์แบบทั่วไป (mechanical mouse) เป็นเมาส์ที่ได้รับการออกแบบให้ใช้ลูกบอลเป็นตัวจับทิศทางที่เมาส์เลื่อนไป
๒.๒)เมาส์แบบแสง (optical mouse) เป็นเมาส์ที่ออกแบบโดยใช้แสงส่องไปกระทบพื้นผิวด้านล่าง โดยวงจรภายในเมาส์จะวิเคราะห์แสงสะท้อนที่เปลี่ยนไปเมื่อเลื่อนเมาส์และแปลงทิศทางเป็นการชี้ตำแหน่ง
๒.๓)เมาส์แบบไร้สาย (wireless mouse) เมาส์ที่ใช้คลื่นวิทยุหรือแสงอินฟราเรดในการติดต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ ทำให้มีการเคลื่อนไหวที่สะดวก
๒.๓ หน่วยความจำหลัก
หน่วยความจำหลัก (main memory) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการเก็บข้อมูลและคำสั่งที่ได้รับจากหน่วยเก็บข้อมูลและเก็บผลลัพธ์ที่ผ่านการประมวลผลแล้ว ขณะที่เปิดเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อใช้งาน บางครั้งอาจเรียกว่า หน่วยเก็บข้อมูลหลัก (primary storage)
หน่วยความจำหลักทำงานควบคู่ไปกับซีพียูและช่วยให้การทำงานของซีพียูมีประสิทธิภาพดีขึ้น ซึ่งซีพียูจะทำหน้าที่นำคำสั่งจากหน่วยความจำหลักมาแปลงความหมายแล้วกระทำตาม เมื่อทำเสร็จก็จะนำผลลัพธ์มาเก็บไว้ในหน่วยความจำหลัก โดยซีพียูจะกระทำตามขั้นตอนเช่นนี้เป็นวงรอบเรื่อยไปอย่างรวดเร็ว เรียกการทำงานลักษณะนี้ว่าวงรอบคำสั่ง (execution cycle) โดยวงรอบของการทำงานของซีพียูนั้นทำงานเร็วมากหากไม่มีที่เก็บหรือพักข้อมูลและความเร็วในการเข้าถึงข้อมูลที่มีขนาดเพียงพอ จะทำให้การประมวลผลช้าลงตามไปด้วย โดยทั่วไปหน่วยความจำหลัก แบ่งออกเป็น ๒ ประเภท ดังต่อไปนี้
๑)หน่วยความจำหลักแบบแก้ไขได้ (random access memory : RAM) เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า แรม เป็นหน่วยความจำที่จัดเก็บข้อมูลในขณะที่ซีพียูกำลังประมวลผล หรือเมื่อเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ ดังนั้น หน่วยความจำประเภทนี้ต้องอาศัยกระแสไฟฟ้าในการทำงานเพื่อไม่ให้ข้อมูลสูญหาย ซึ่งอาจเรียกว่า หน่วยความจำแบบลบเลือนได้ ( volatile memory ) หากเกิดกระแสไฟฟ้าดับ หรือเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ ข้อมู,ที่อยู่ในหน่วยความจำจะถูกลบไป แรมสามารถแบ่งออกได้เป็น ๒ ชนิด ดังนี้
๑.๑) แรมหลัก (main RAM) ใช้เก็บข้อมูลและคำสั่งหรือโปรแกรมระหว่างการทำงานของซีพียู โดยซีพียูสามารถเข้าถึงข้อมูลและคำสั่งในแรมอย่างรวดเร็ว ซึ่งหากผู้ใช้ต้องการเก็บข้อมูลภายหลง ผู้ใช้ต้องย้ายข้อมูลจากแรมไปเก็บไว้ที่หน่วยความจำรอง เช่น ฮาร์ดดิสก์ ออปติคัลดิสก์ แฟลชไดรฟ์ เป็นต้น โดยการสั่งคำสั่งบันทึกจากโปรแกรมที่ใช้งาน
๑.๒) แรมวีดิทัศน์ (video RAM) ใช้เก็บข้อมูลสำหรับจอภาพ ทำให้สามารถส่งภาพไปที่จอได้เร็วขึ้น นิยมใช้กับการเล่นเกมและงานด้านกราฟิก เพื่อช่วยให้ภาพประกฎที่หน้าจอได้อย่างรวดเร็ว โดยปกติแล้วการวัดขนาดของหน่วยความจำ นิยมวัดโดยใช้หน่วยเป็นไบต์ (Byte) ซึ่งอาจเทียบได้เท่ากับตัวอักษร ๑ ตัวโดยคอมพิวเตอร์มีขนาดหน่วยความจำที่ใหญ่มากจะทำงานได้เร็วมากขึ้น ซึ่งหน่วยวัดที่มีขนาดใหญ่ขึ้น มีดัง
1 byte (ไบต์) = 1 ตัวอักษร (ประมาณ 1 พันตัวอักษร)
1 KB (กิโลไบต์) = 1024 ตัวอักษร (ประมาณ 1 พันตัวอักษร)
1 MB (เมกะไบต์) = 1048576 ตัวอักษร (ประมาณ 1 ล้านตัวอักษร)
1 GB (กิกะไลต์) = 1073741824 ตัวอักษร (ประมาณ 1 พันล้านตัวอักษร)
ปัจจุบันขนาดหน่วยความจำหลักของเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลมีขนาดตั้งแต่ 256 MB 512 MB 1GB 2GB 4GB เป็นต้น
๒)หน่วยความจำหลักแบบอ่านได้อย่างเดียว (read only memory : ROM) เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า รอม เป็นหน่วยความจำที่ปริษัทผู้ผลิตติดตั้งชุดคำสั่งที่ใช้ในการเริ่มต้นการทำงานหรือชุดคำสั่งที่สำคัญของระบบคอมพิวเตอร์ โดยรอมมีคุณสมบัติในการเก็บข้อมูลไว้ตลอดโดยไม่ต้องใช้ไฟฟ้าเลี้ยง นั่นคือ เมื่อเปิดเครื่องไปแล้ว และเปิดเครื่องใหม่ข้อมูลในรอมก็ยังอยู่เหมือนเดิม แต่ผู้ใช้ไม่สามรถเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมชุดคำสั่งในรอมได้ ชุดคำสั่งที่ติดตั้งในรอมอย่างถาวรมาตั้งแต่ผลิตของบริษัทเรียกว่า เฟิร์มแวร์ (firmware) ปัจจุบันรอมมีอยู่หลายชนิดบางชนิดมีความสามารถเพิ่มเติมชุดคำสั่งด้วยโปรแกรมพิเศษได้ ชนิดของรอมที่นิยมใช้ในปัจจุบัน ได้แก่ Mark ROM , PROM EPROM และ EEPROM
๒.๔ หน่วยความจำรอง
หน่วยความจำรอง (secondary storage) เป็นหน่วยเก็บข้อมูลถาวรที่ผู้ใช้สามารถย้ายข้อมูลและคำสั่งที่อยู่ในแรมขณะที่เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานมาจัดเก็บไว้ได้ด้วยคำสั่งบันทึกของโปรแกรมต่างๆ ทำให้ผู้ใช้สามารถเรียกข้อมูลและคำสั่งมาใช้ภายหลังได้ ซึ่งหน่วยความจำรองมีความจุข้อมูลได้มากกว่าหน่วยความจำหลักมีราคาถูกกว่า แต่เข้าถึงข้อมูลได้ช้ากว่าหน่วยความจำหลัก อุปกรณ์หน่วยความจำรองที่นิยมใช้ในปัจจุบัน มีดังนี้
๑) ฮาร์ดดิสก์ (hard disk) ใช้หลักการของการเข้าถึงข้อมูลแบบสุ่ม (random access) กล่าวคือ ถ้าต้องการข้อมูลลำดับที่ ๒๑ หัวอ่านก็จะต้องไปที่ข้อมูลนั้นและอ่านข้อมูลขึ้นมาได้ทันที หัวอ่านของฮาร์ดดิสก์ เรียกว่า หัวอ่านและบันทึก (read/write head) โดยฮาร์ดดิสก์ที่ทำมาจากแผ่นจานแม่เหล็กเรียงซ้อนกันหลายๆ แผ่น ซึ่งสามารถบันทึกข้อมูลได้ทั้งสองหน้าของผิวจานแม่เหล็ก ยกเว้นแผ่นสุดท้ายที่ติดกับกล่องจะบันทึกข้อมูลได้เพียงหน้าเดียว โดยที่ทุกแทร็ก (track) และเซ็กเตอร์ (sector) ที่ตำแหน่งตรงกันของฮษร์ดดิสก์ชุดหนึ่งๆ จะถูกเรียกว่า ไซลินเดอร์ (cylinder)
๒) เทปแม่เหล็ก (magnetic tape) เป็นหน่วยเก็บข้อมูลที่ได้รับความนิยมน้อยลง ใช้สำหรับการเก็บสำรองข้อมูล (backup) เพื่อป้องกันการสูญหายของข้อมูล ใช้หลักการของการเข้าถึงแบบลำดับ (sequential access) ข้อดีของเทปแม่เหล็ก คือ ราคาถูกและเก็บข้อมูลได้มาก แต่เปลี่ยนจากการเล่น (play) และบันทึก (record) เป็นการอ่าน (read) และเขียน (write)
๓) ออปติคัลดิสก์ (optical disk) เป็นหน่วยความจำรองที่ใช้เทคโนโลยีแสงเลเซอร์ในการบันทึกข้อมูล ทำให้สามารถเก็บข้อมูลได้จำนวนมากและราคาไม่แพง ออปติคัลดิสก์ที่นิยมใช้ในปัจจุบัน มีดังนี้
๓.๑) ซีดีรอม (CD-ROM : compact disk-read-only memory) คือ หน่วยความจำรองที่บันทึกได้เพียงครั้งเดียว หลังจากนั้นจะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงข้อมูลเหล่านั้นได้อีก
๓.๒) ซีดีอาร์ (CD-R : compact disk recordable) คือ หน่วยความจำรองที่สามารถเขียนข้อมูลลงแผ่นแล้วข้อมูลเหล่านั้นจะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ แต่ผู้ใช้สามารถบันทึกข้อมูลต่างๆ เพิ่มเติมลงแผ่นเดิมได้จนกว่าข้อมูลจะเต็มแผ่น
๓.๓) ซีดีอาร์ดับบลิว (CD-RW :compact disk rewritable) คือ หน่วยความจำที่สามรถเขียนข้อมูลลงแผ่น และสามารถเขียนข้อมูลลงแผ่น และสามารถเขียนข้อมูลใหม่ทับลงในข้อมูลเดิมได้ หรือผู้ใช้สามารถเปลี่ยนเนื้อหาต่างๆภายในแผ่นซีดีอาร์ดับบลิวได้
๓.๔) ดีวีดี (DVD-digital video disk) เป็นเทคโนโลยีที่กำลังได้รับความนิยมมากขึ้น มีการใช้เทคโนโลยีการบีบอัดข้อมูลมากขึ้น ดีวีดีหนึ่งแผ่นสามารถเก็บข้อมูบได้ตั้งแต่ ๔.๗ กิกะไบต์
๓.๕) บลูเรย์ดิสก์ (blue ray disk) เป็นเทคโนโลยีแบบแสงล่าสุดที่สามารถบันทึกข้อมูลความละเอียดสูงได้ถึง ๑๐๐ กิกะไบต์ ให้ภาพและเสียงที่คมชัด มักนำมาใช้ในการบันทึกภาพยนตร์
๔) หน่วยความจำแบบแฟลช (flash memory device) มีชื่อเรียกหลายอย่างได้แก่ แฟลชไดร์ฟ (flash drive) ธัมไดร์ฟ (thump drive) หรือแฮนดีไดร์ฟ (handy drive) เป็นหน่วยความจำรองชนิดอีอีพร็อม (electrically erasable programmable read-only memory : EEPROM ) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีใหม่ที่สามารถเก็บข้อมูล เขียน และลบข้อมูลได้ตามต้องการ หน่วยความจำชนิดนี้มีขนาดเล็ก น้ำหนักเบา พกพาได้สะดวก
ปัจจุบันหน่วยความจำแบบแฟลชสามารถเก็บข้อมูลตั้งแต่ 128 MB 256 MB 512 MB 1GB 2 GB จนถึง 16 GB และนับวันยิ่งจะมีความจุเพิ่มขึ้นอีก
นอกจากหน่วยสำคัญของคอมพิวเตอร์ที่กล่าวมาแล้ว ยังมีอุปกรณ์สำคัญของเครื่องคอมพิวเตอร์ คือ แผงวงจรไฟฟ้าขนาดใหญ่ที่เรียกว่า แผงวงจรหลัก (main board ) ซึ่งประกอบด้วยซีพียู หน่วยความจำ ชิปประมวลผลเสริม (coprocessor) และมีช่องสำหรับต่ออุปกรณ์ป้อนข้อมูลและแสดงผล รวมทั้งมีช่องเสียบขยาย (expansion slot) ซึ่งออกแบบมาเพื่อให้สำรองไว้ใช้กับการ์ดเพิ่มเติม (expansion card) หรือตัวปรับต่อ (adapter) อื่นๆ
๒.๕ หน่วยส่งออก
หน่วยส่งออก (output unit) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการแสดงผลลัพธ์หรือสารสนเทศที่ผ่านการประมวลผลแล้ว โดยจะแปลงข้อมูลในรูปแบบของสัญญาณไฟฟ้าที่เครื่องคอมพิวเตอร์เข้าใจให้กลายเป็นผลลัพธ์ในรูปแบบต่างๆ ที่มนุษย์เข้าใจ ซึ่งอาจอยู่ในรูปแบบของตัวอักษร ตัวเลข สัญลักษณ์พิเศษ รูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว และเสียง
หน่วยส่งออกที่นิยมใช้ในปัจจุบัน แบ่งเป็น ๒ ประเภท คือ
๑)หน่วยส่งออกชั่วคราว (solf copy) เป็นอุปกรณ์แสดงผลที่ให้ผู้ใช้ได้ทราบผลลัพธ์ในขณะนั้น แต่เมื่อเลิกการทำงานหรือเลิกใช้แล้วผลลัพธ์นั้นก็จะหายไป หน่วยแสดงผลชั่วคราวที่นิยมใช้ มีดังนี้
(๑.๑) จอภาพ (monitor) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการแสดงผลลัพธ์ได้ทั้งตัวอักษร ตัวเลข ภาพนิ่ง และภาพเคลื่อนไหว จอภาพในปัจจุบันมีหลายชนิด ดังนี้
(๑) จอภาพซีอาร์ที (cathode ray tube monitor : CRT )จอภาพมีรูปร่าง ขนาด และเทคโนโลยีเดียวกับโทรทัศน์ กล่าวคือ เป็นเทคโนโลยีที่ใช้หลักการทำงาน โดยการยิงแสดงอิเล็กตรอนไปยังด้านในของจอภาพ ซึ่งผิวของจอภาพจะฉาบด้วยสารฟอสฟอรัส เมื่อตำแหน่งที่มีอิเล็กตรอนวิ่งมาชนจอภาพจะเกิดแสงสว่างขึ้น แสงสว่างแต่ละจุดทำให้เห็นเป็นภาพ และมีหลอดแก้วแสดงผล เรียกว่า หลอดรังสีแคโทด (cathode ray tube)ซึ่งจอภาพซีอาร์ที จะส่งแสงสะท้อนมายังนัยต์ตาของผู้ใช้ค่อนข้างมาก
(๒) จอภาพแอลซีดี (liquid crystal display monitor : LCD) เป็นจอภาพแบบแบน และใช้เทคโนโลยีการเรืองแสงของผลึกเหลว (liquid crystal) จึงใช้พลังงานไฟฟ้าน้อยและมีแสงที่ส่องมายังตาผู้ใช้น้อย ทำให้ถนอมสายตาได้มากกว่าจอซีอาร์ที จอภาพแอลซีดีมีอยู่ ๒ ประเภท คือ จอภาพแบบแอกทีฟเมทริกซ์(active matrix) เป็นจอภาพที่มีความละเอียด จอสว่างและชัดเจนมาก และจอภาพพาสซีฟเมทริกซ์ (passive matrix) เป็นจอภาพที่ให้ความสว่างและความคมชัดน้อยกว่าจอภาพแบบแอกทีฟเมทริกซ์
(๓) จอภาพพลาสมา (plasma monitor) มีลักษณะแบนและบาง โดยจอภาพประกอบขึ้นจากแผ่นแก้วสองชุดวางชิดกัน ช่องว่างนี้จะถูกแบ่งออกเป็นเซลล์แสง แต่ละเซลล์จะบรรจุแก๊สผสมระหว่างแก๊สซีนอนและแก๊สเฉื่อยอื่นๆ หลักการทำงานของจอพลาสมา คือเมื่อแก๊สในเซลล์เหล่านี้ถูกกระตุ้นด้วยพลังงานไฟฟ้า แก๊สจะแตกตัวออกเป็นประจุและปล่อยแสงอัลตราไวโอเลตออกมา สารเรืองแสงที่เคลือบไว้ที่จอจะดูดซับแสงอัลตราไวโอเลตและและสร้างสีที่มองเห็นได้ด้วยตา ทำให้ผู้ใช้มองเห็นเป็นภาพที่มีความสว่างและคมชัดมากกว่าจอแอลซีดี รวมทั้งแสดงภาพเคลื่อนไหวเร็วๆได้ดีเหมาะกับการใช้รับชมภาพยนตร์เป็นอย่างมาก
๑.๒) อุปกรณ์ฉายภาพ (Projector) ทำหน้าที่รับสัญญาณจากเครื่องคอมพิวเตอร์ และขยายภาพให้มีขนาดใหญ่ไปยังพื้นผิวเรียบหรือจอภาพขนาดใหญ่ นิยมใช้ในการเรียนการสอน การประชุม รวมถึงรองรับการฉายภาพยนตร์จอขนาดใหญ่ในบ้าน (home theater) เนื่องจากสามารถนำเสนอข้อมูลให้ผู้ชมจำนวนมากเห็นพร้อมๆกันได้ เทคโนโลยีของอุปกรณ์ฉายภาพที่นิยมใช้ในปัจจุบัน ได้แก่ เทคโนโลยีแบบแอลซีดี (liquid crystal display : LCD) และเทคโนโลยีแบบดีแอลพี (digital light processing : DLP) เทคโนโลยีแบบดีแอลพี ขนาดของอุปกรณ์จะเล็กกว่าแต่มีความสว่างรวมทั้งความคมชัดของภาพสูงกว่าแบบแอลซีดี
๑.๓) ลำโพง (speaker) เป็นอุปกรณ์ที่แสดงผลลัพธ์ในรูปแบบเสียง ซึ่งส่วนใหญ่จะมีมาพร้อมกับเครื่องคอมพิวเตอร์ ลำโพงมี ๒ ชนิด ดังนี้
(๑) ลำโพงแบบขยายเสียงในตัว จะมีปุ่มสำหรับปรับเสียงต่างๆ เช่น ปุ่ม volume สำหรับปรับความดังของเสียง ปุ่ม base สำหรับปรับระดับความดังของเสียงทุ้ม และปุ่ม treble สำหรับปรับระดับความดังของเสียงแหลม เป็นต้น
(๒) ลำโพงแบบไม่มีวงจรขยายเสียง จะมีกรวยของลำโพงที่ใช้ภายในตัวลำโพง ลำโพงชนิดนี้ต้องใช้การ์ดเสียงที่มีวงจรขยายเสียงสำหรับขยายเสียงออกลำโพง
๒) หน่วยส่งออกถาวร (hard copy) เป็นอุปกรณ์แสดงผลที่ให้ผู้ใช้ได้ทราบผลลัพธ์ในรูปแบบกระดาษและสามารถนำผลลัพธ์ไปใช้ได้ในภายหลัง หน่วยแสดงผลถาวรที่นิยมใช้ มีดังนี้
๒.๑) เครื่องพิมพ์ (printer) เป็นอุปกรณ์ที่แสดงผลลัพธ์ได้ทั้งตัวอักษร ตัวเลข ภาพนิ่ง ลงบนกระดาษ เครื่องพิมพ์แบ่งเป็น ๒ ประเภท ดังนี้
(๑) เครื่องพิมพ์แบบกระทบ (impact printer) เป็นเครื่องพิมพ์ที่ใช้หลักการพิมพ์โดยการกระแทกหัวพิมพ์กับแถบผ้าหมึก ทำให้เกิดอักขระบนกระดาษ เครื่องพิมพ์แบบกระทบที่นิยมใช้ ได้แก่ เครื่องพิมพ์แบบจุด (dot-matrix printer) เป็นเครื่องพิมพ์ที่ใช้หลักการทำงานโดยการสร้างจุดลงบนกระดาษ โดยหัวพิมพ์จะมีลักษณะเป็นหัวเข็มที่มีรูปทรงต่างๆ เมื่อเครื่องทำการพิมพ์ หัวเข็มที่อยู่ในตำแหน่งต่างๆ จะยื่นออกมา และกระแทกกับผ้าหมึกลงบนกระดาษที่ใช้พิมพ์ทำให้เกิดจุดมากมายประกอบกันเป็นตัวอักษรหรือรูปขึ้นมา เครื่องพิมพ์ประเภทนี้นิยมใช้กับการพิมพ์เอกสารที่มีสำเนา โดยสามารถใช้กระดาษคาร์บอนคั่นระหว่างกระดาษ แรงกระแทกจะทำให้เกิดสำเนาเอกสารได้หลายสำเนา ข้อเสียของเครื่องพิมพ์ชนิด คือ มีเสียงดังในขณะพิมพ์ ตัวอักษรไม่คมชัดมาก
(๒) เครื่องพิมพ์แบบไม่กระทบ (nonimpact printer) เป็นเครื่องพิมพ์ที่ใช้หลักการพิมพ์โดยวิธีการทางเคมีและใช้ความร้อนในการทำให้สีพิมพ์ติดกระดาษ เครื่องพิมพ์แบบไม่กระทบที่นิยมใช้ในปัจจุบัน มีดังนี้
เครื่องพิมพ์ฉีดหมึก (ink jet printer) เป็นเครื่องพิมพ์ที่ใช้หลักการพิมพ์โดยวิธีพ่นหยดหมึกเล็กๆให้ติดกับกระดาษ หมึกพิมพ์แบบสีจะต้องใช้แม่สีสามสี ซึ่งการใช้งานปกติหมึกพิมพ์จะหมดไม่พร้อมกัน ดังนั้น ในกรณีที่ใช้ตลับหมึกที่มีสามสีอยู่ในตลับเดียวกัน หากมีสีใดสีหนึ่งหมดก่อนตลับนั้นจะใช้ไม่ได้อีก ดังนั้น บางบริษัทจึงแยกหมึกพิมพ์แต่ละสีออกจากกัน เพื่อให้เป็นอิสระในการเปลี่ยนสีได้ ทั้งนี้เพื่อความประหยัด ส่วนใหญ่หมึกพิมพ์แบบฉีดหมึกจะมีต้นทุนการพิมพ์ต่อแผ่นสูง แต่ตัวเครื่องมีราคาไม่แพง และให้ผลงานที่มีความสวยงาม คมชัด เครื่องพิมพ์ชนิดนี้นิยมใช้กับงานพิมพ์ที่มีการพิมพ์เอกสารปริมาณไม่มาก เช่น การพิมพ์รายงานที่บ้าน การพิมพ์เอกสารจำนวนไม่มากของหน่วยงานต่างๆ เป็นต้น
เครื่องพิมพ์เลเซอร์ (laser printer) เป็นเครื่องพิมพ์ที่ใช้แสงเลเซอร์สร้างประจุไฟฟ้าบวกบนแผ่นกระดาษที่เคลื่อนที่ ซึ่งผงหมึกที่มีประจุลบจะถูกดูดกับประจุบวก และลูกกลิ้งร้อนจะช่วยให้หมึกติดบนกระดาษ
เครื่องพิมพ์เลเซอร์มีความเร็วในการพิมพ์สูง และมีต้นทุนการพิมพ์ต่อแผ่นถูกกว่าเครื่องพิมพ์ฉีดหมึก แต่ตัวเครื่องมีราคาสูง เครื่องพิมพ์เลเซอร์เหมาะกับงานต้องพิมพ์ปริมาณมาก เช่น งานในสำนักงานร้านถ่ายเอกสาร ร้านออกแบบจัดพิมพ์รูปเล่ม งานออกแบบสิ่งพิมพ์ สื่อโฆษณา เป็นต้น
เครื่องพิมพ์แบบใช้ความร้อน (thermal printer) เป็นเครื่องพิมพ์ที่ใช้หลักการพิมพ์โดยการกลิ้งหมึกพิมพ์ที่เคลือบแวกซ์ไปบนกระดาษ แล้วเพิ่มความร้อนให้กับหมึกพิมพ์จนแวกซ์ละลาย และติดอยู่บนกระดาษ บางชนิดอาจใช้สีย้อมแทนแวกซ์ ทำให้สามารถพิมพ์ภาพสีที่มีคุณภาพการพิมพ์สูง แต่ราคาเครื่องและค่าใช้จ่ายในการพิมพ์สูงมาก
เครื่องพิมพ์พล็อตเตอร์ (plotter) เป็นเครื่องพิมพ์ที่ใช้หลักการการเขียนภาพด้วยหัวปากกา นิยมใช้ในงานออกแบบทางสถาปัตยกรรมและวิศวกรรม ซึ่งภาพเหล่านี้เป็นภาพที่มีขนาดใหญ่
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น